วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Diary Note 21 January 2016

Diary Note No.2
Substance



ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
   ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ
  •  พัฒนาการทางศิลปะของ โลเวนเฟลด์ (Lowenfeld
     ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์
  •  ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด (Guilford)
  •  ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์ (Torrance)
               - ทฤษฎีความรู้สองลักษณะ (สมอง สองซีก)
              - ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์ (Gardner)
              - ทฤษฎีโอตา  (Auta)

ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด
•  นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน
•  ศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์ ตัวประกอบของสติปัญญา
          - เน้นเรื่องความคิดสร้างสรรค์
          - ความมีเหตุผล
           - การแก้ปัญหา
ความสามารถของสมอง
       กิลฟอร์ด อธิบายความสามารถของสมองออกเป็น 3  มิติ
           มิติที่   1      เนื้อหา
•   มิติเกี่ยวกับ ข้อมูล หรือ สิ่งเร้าที่เป็นสื่อในการคิด
•   สมอง รับข้อมูลเข้าไปคิด พิจารณา   4   ลักษณะ
           - ภาพ
           - สัญลักษณ์
            - ภาษา
            - พฤติกรรม
           มิติที่ 2  วิธีการคิด
•   มิติที่แสดงลักษณะการทำงานของสมองใน   5  ลักษณะ
         - การรู้จัก การเข้าใจ
          - การจำ
          - การคิดแบบอเนกนัย  (คิดได้หลายรูปแบบ  หลากหลาย)
          - การคิดแบบเอกนัย  (ตัดสินใจเลือกสิ่งที่ดีที่สุด)
          - การประเมินค่า
มิติที่ 3  ผลของการคิด
•    มิติที่แสดงถึงผลที่ได้จากการทำงานของสมอง  จากมิติที่ 1 + มิติที่ 2
•    มี  6  ลักษณะ
            -  หน่วย
            -  จำพวก
            -  ความสัมพันธ์
            -  ระบบ
            -  การแปลงรูป
            -  การประยุกต์
ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด
•    สรุป.....
            - เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับโครงสร้างทางสติปัญญา
            - ทำให้ทราบความสามารถของสมองที่แตกต่างกันถึง  120    ความสามารถ
ตามแบบจำลองโครงสร้างทางสติปัญญาในลักษณะ 3 มิติ  คือ มีเนื้อหา  4  มิติ   
วิธีการคิด  5  มิติ     และผลทางการคิด  6  มิติ    
...รวมความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์ด้วย คือ วิธีการคิดอเนกนัย  เป็นการคิดหลายทิศทาง  หลายแง่หลายมุม คิดได้กว้างไกล  ซึ่งลักษณะความคิดนี้จะนำไปสู่การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งแปลกใหม่
ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์(Torrance)
•     นักจิตวิทยาและนักการศึกษาผู้มีชื่อเสียง  ชาวอเมริกัน
•     เสนอแนวคิดเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ว่า ประกอบด้วย
            - ความคล่องแคล่วในการคิด
            - ความยืดหยุ่นในการคิด
            - ความคิดริเริ่มในการคิด
•      แบ่งลำดับขั้นการคิดสร้างสรรค์ เป็น 5 ขั้น
             - ขั้นที่1 การค้นพบความจริง
 •เป็นขั้นเริ่มต้น  ค้นหาสาเหตุ
 •ในการทำงานเริ่มแรก  ต้องมีการคิดค้น หรือหาข้อมูลต่างๆ จะเกิดความรู้สึกกังวล  สับสน  วุ่นวาย แล้วค่อยๆปรับตัว พยายามคิดหาสาเหตุ ว่าสิ่งที่ทำให้กังวลใจนั้น คืออะไร
              -ขั้นที่2 การค้นพบปัญหา
  •เป็นขั้นที่สามารถคิดได้ และ
  •เกิดความเข้าใจแล้วว่า ปัญหาคืออะไร
             - ขั้นที่3 การตั้งสมมุติฐาน
 •เมื่อรู้ปัญหาว่าคืออะไรจากขั้นที่ 1 และ ขั้นที่ 2 แล้วก็พยายามคิดแก้ปัญหา
 •หาทางออกโดยการตั้งสมมุติฐาน
             - ขั้นที่4 การค้นพบคำตอบ
 -เป็นการค้นพบคำตอบจากการตั้งสมมุติฐาน ด้วยวิธีการต่างๆอย่างหลากหลาย
             - ขั้นที่5 ยอมรับผลจากการค้นพบ                                                                         
-ค้นพบว่าสมมุติฐานที่ทดสอบไปในขั้นที่ 4 นั้นได้ผลเป็นอย่างไร
-สรุปว่าสมมุติฐานใดคือการแก้ปัญหา หรือทางออกที่ดีที่สุด
      
•   สรุป.....ทอร์แรนซ์ กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการของความรู้สึกไวต่อปัญหา  หรือสิ่งที่ขาดหายไป   แล้วเกิดความพยายามในการสร้างแนวคิด  ตั้งสมมุติฐาน  ทดสอบสมมุติฐาน   และเผยแพร่ผลที่ได้ให้ผู้อื่นรับรู้และเข้าใจ  ทำให้เกิดแนวทางในในการค้นคว้าสิ่งแปลกๆใหม่ๆต่อไป
•   ขั้นความคิดสร้างสรรค์นี้ มีลักษณะคล้ายคลึงกับขั้นการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์  ทอร์แรนซ์จึงเรียกขั้นการคิดสร้างสรรค์นี้ว่า กระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
ทฤษฎีความคิดสองลักษณะ
•    เป็นทฤษฎีที่กำลังได้รับความสนใจ เพราะเป็นการค้นพบความรู้เกี่ยวกับการทำงานของสมองมนุษย์
•    การทำงานของสมองสองซีก  ทำงานแตกต่างกัน
            สมองซีกซ้าย    ทำงานส่วนของการคิดที่เป็นเหตุผล       
            สมองซีกขวา     ทำงานส่วนจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์
•    แพทย์หญิงกมลพรรณ  ชีวพันธุศรี กล่าวว่า  คนเรามีสมอง  ซีก
•    คือ...สมองซีกขวา ซึ่งเป็นส่วนของจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ สามารถพัฒนาได้มากในช่วงวัย 4-7 ปี   
•    ส่วนสมองซีกซ้ายที่เป็นส่วนของการคิดที่เป็นเหตุผล จะพัฒนาในช่วง 9-12 ปี 
และสมองจะเจริญเติบโตเต็มที่เมื่อเด็กอายุ  11-13 ปี
•    ปัจจุบัน  คนส่วนใหญ่มักได้รับการพัฒนาเพียงสมองซีกใดซีกหนึ่ง เป็นพิเศษ  
ไม่ให้ความสนใจการทำงานของสมองอีกซีกหนึ่งเท่าที่ควร
....ระบบการศึกษาส่วนใหญ่  มุ่งการพัฒนาสมองซีกซ้าย ด้วยการให้เด็กท่องจำ คำนวณ  คิดเลข  สรรหาถ้อยคำ  วิเคราะห์ข้อมูล และอยู่ในระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ  ขาดการสนับสนุนให้สมองซีกขวาพัฒนาควบคู่กันไป การคิดจินตนาการ  การคิดแปลกใหม่  ความเป็นศิลปิน จึงไม่ค่อยมีโอกาสพัฒนา

 ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์(Gardner)
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตวิทยาการศึกษา  ชาวอเมริกัน แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

ผู้คิดค้นทฤษฎีพหุปัญญา ( ศักยภาพและความสามารถที่หลากหลายของมนุษย์ )

ทฤษฎีพหุปัญญา จำแนกความสามารถหรือสติปัญญาของคนเอาไว้  9 ด้าน  ได้แก่
  - ความสามารถด้านภาษา                           
- ความสามารถด้านตรรกวิทยาและคณิตศาสตร์
   - ความสามารถด้านดนตรี                        
 - ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์
   - ความสามารถด้านกีฬาและการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย
   - ความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์           
   -  ความสามารถด้านจิตวิเคราะห์
    - ความสามารถด้านธรรมชาติศึกษา
   - ความสามารถในการคิดพลิกแพลงแตกต่างในการแก้ปัญหา
 1.    ความสามารถด้านภาษา
     เด็กที่มีความสามารถด้านนี้ .......
           - เรียนรู้และเข้าใจคำพูดต่างๆได้เร็วเกินวัย
           - เลือกใช้คำได้หลากหลาย  มีประสิทธิภาพ ทั้งด้านการพูดจูงใจ
             การโน้มน้าว  การอธิบาย  การเล่านิทาน  การโต้เถียง  การใช้เหตุผล 
             ตลอดจนการเขียนข้อความบรรยาย เขียนสรุปจะทำได้ดีมาก 
      เด็กจะมีลักษณะนิสัยชอบคิดชอบเขียน ความจำดี
 2.    ความสามารถด้านตรรกวิทยาและคณิตศาสตร์
     เด็กที่มีความสามารถด้านนี้ .......
            - มีความถนัดเรื่องคณิตศาสตร์ เข้าใจเรื่องตัวเลขได้เร็ว
             - ใช้เงินเป็นและเร็วกว่าเด็กวัยเดียวกัน
             - มีความสามารถในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับตัวเลข การคำนวณ การคิดวิเคราะห์  การทดลอง  การสำรวจ การเรียงลำดับเหตุการณ์ การใช้เหตุผล
 3.    ความสามารถด้านดนตรี
     เด็กที่มีความสามารถด้านนี้ .......
           - ถนัดและเก่งดนตรี
           - ชอบฟังเพลง  ร้องเพลง และจำเนื้อเพลงได้เร็ว
           - ตอบสนองกับจังหวะดนตรีได้ดี เต้นตามจังหวะดนตรีได้
           - สนใจและสนุกกับการเล่นเครื่องเล่นดนตรีเป็นพิเศษ
     เด็กจะมีลักษณะนิสัยอารมณ์ดี ชอบร้องชอบเต้น
 4.    ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์
     เด็กที่มีความสามารถด้านนี้ .......
           - มีความสามารถในการเห็นภาพรวม
           - สามารถใช้พื้นที่ในการวาดภาพได้ดี ขนาดและสัดส่วนเหมาะสม
           - เข้าใจวิธีการลอกลาย
           - เขียนแผนที่ได้ดี เข้าใจเรื่องทิศทาง  เส้นทาง
           - มองเห็นโลกในมุมที่ถูกต้อง ตามความเป็นจริง
 5.    ความสามารถด้านกีฬา
        และการควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกาย
     เด็กที่มีความสามารถด้านนี้ .......
           - มีพฤติกรรมไม่อยู่นิ่ง  ชอบการวิ่งเล่น  ออกกำลังกาย เต้นรำ
           - มีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อได้ดี...ทั้งการเดิน ยืน  นั่ง  วิ่ง  กระโดด  มีทักษะการทรงตัวที่ดี
       เด็กจะมีลักษณะนิสัยชอบแสดงออก มีความสุขกับการได้ใช้กำลังกาย
 6.    ความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์
     เด็กที่มีความสามารถด้านนี้ .......
           - ชอบบริการผู้อื่น  ช่างเอาอกเอาใจ
           - ชอบช่วยเหลือเพื่อน
           - พูดจาไพเราะ  มารยาทอ่อนหวาน น่ารัก
           - ปับตัวเข้ากับทุกคนได้ดี กล้าพูดกล้าแสดงออก  ชอบพบปะผู้คนหลากหลาย  ชอบเข้าสังคม ไม่กลัวคนแปลกหน้า
           - ชอบสังเกต  มองเห็นความแตกต่างระหว่างบุคคล 
 7.    ความสามารถด้านจิตวิเคราะห์
     เด็กที่มีความสามารถด้านนี้ .......
           - ชอบเรียนรู้ ค้นคว้า วิจัย
           - สามารถเขียนบันทึกประจำวันได้ดี
           - สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง มีความมุ่งมั่นพยายามในการหาคำตอบ
           - เข้าใจความรู้สึกของตนเอง อารมณ์มั่นคง
 8.    ความสามารถด้านธรรมชาติศึกษา
     เด็กที่มีความสามารถด้านนี้ .......
           - ชอบเรียนรู้ธรรมชาติ / สิ่งแวดล้อมรอบๆตัว
           - ชอบทัศนศึกษา  ออกสำรวจโลกภายนอก
           -  จิตใจดี รักสัตว์  รักต้นไม้ ชอบปลูกผัก  เลี้ยงสัตว์
           - ชอบสังเกตความแตกต่าง เปรียบเทียบสิ่งที่อยู่รอบตัว
 9.    ความสามารถในด้านการคิดพลิกแพลงแตกต่าง
        ในการแก้ปัญหา   
          เด็กที่มีความสามารถด้านนี้ .......
           -  คิดไว  มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาต่างๆได้ดี
           -  รู้จักเลือก หรือหาวิธีในการแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม
           -  เป็นเด็กช่างคิด สามารถคิดค้นประดิษฐ์สิ่งแปลกใหม่อยู่เสมอ
           -  ไม่หยุดนิ่งทางความคิด ชอบเทคโนโลยี
 ลักษณะสำคัญของทฤษฎีพหุปัญญา
• ปัญญา มีลักษณะเฉพาะด้าน
• ทุกคนมีปัญญาแต่ละด้าน ทั้ง 9 ด้านมากน้อยแตกต่างกัน
• ทุกคนสามารถพัฒนาปัญญาแต่ละด้านให้สูงขึ้นได้
• ปัญญาต่างๆสามารถทำงานร่วมกันได้
• ในปัญญาแต่ละด้าน ก็มีความสามรถหลายอย่าง
 ทฤษฎีโอตา (AUTA)
 เดวิส (Davis) และซัลลิแวน (Sullivan)ความคิดสร้างสรรค์นั้นมีอยู่ในมนุษย์ทุกคน และสามารถพัฒนาให้สูงขึ้นได้ การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ตามรูปแบบโอตา มีลำดับการพัฒนา 4 ขั้นตอน  ได้แก่ การตระหนัก ความเข้าใจ เทคนิควิธี และการตระหนักในความจริงของสิ่งต่างๆ
 ขั้นตอนที่ 1 การตระหนัก
  ต้องตระหนักถึงความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ที่มีต่อตนเอง ทั้งในอดีตและปัจจุบัน เช่น
             - การพัฒนาปรีชาญาณ
              - การรู้จักและเข้าใจตนเอง
              - การมีสุขภาพจิตที่สมบูรณ์
              - การมีชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม
ขั้นตอนที่ 2 ความเข้าใจ
มีความรู้ ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในเรื่องต่างๆ.......
           - ความรู้และเนื้อหาเรื่องบุคลิกภาพของบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์
           - ลักษณะกระบวนการความคิดสร้างสรรค์
           -ทฤษฏีความคิดสร้างสรรค์
           - เทคนิค วิธีการฝึกความคิดสร้างสรรค์
ขั้นตอนที่ 3  เทคนิควิธี
     การรู้เทคนิควิธีในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทั้งที่เป็นเทคนิคส่วนบุคคลและเทคนิคที่เป็นมาตรฐาน.......
           - เทคนิควิธีการในการฝึกความคิดสร้างสรรค์
           - การระดมสมอง
           - การคิดเชิงเปรียบเทียบ
           - การฝึกจินตนาการ
 ขั้นตอนที่ 4  การตระหนักในความจริงของสิ่งต่างๆ
การรู้จักตระหนักในตนเอง พอใจในตนเอง สามารถดึงศักยภาพมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง.......
           - เปิดกว้างรับประสบการณ์ต่างๆ โดยปรับตัวอย่างเหมาะสม
           - มีความคิดริเริ่มและผลิตผลงานด้วยตนเอง
           - สามารถปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงแนวทางในการดำเนินชีวิตที่เหมาะสม
พัฒนาการทางศิลปะ
วงจรของการขีดๆเขียนๆ
เคลล็อก (Kellogg)  ศึกษางานขีดๆเขียนๆของเด็กปฐมวัย และจำแนกขั้นตอนออกเป็น 4 ขั้นตอน ทำให้เข้าใจถึงความสำคัญของงานขีดๆเขียนๆทางศิลปะที่มีผลเชื่อมโยงกับพัฒนาการของเด็ก 4 ขั้นตอน มีดังนี้  ขั้นขีดเขี่ย  ขั้นเขียนเป็นรูปร่าง  ขั้นรู้จักออกแบบ และขั้นการวาดแสดงเป็นภาพ 
               ขั้นที่ 1 ขั้นขีดเขี่ย (placement  stage)
เด็กวัย 2 ขวบ
ขีดๆเขียนๆตามธรรมชาติ
ขีดเขี่ยเป็นเส้นตรงบ้าง โค้งบ้าง
ขีดโดยปราศจากการควบคุม
     ขั้นที่ 2 ขั้นเขียนเป็นรูปร่าง (shape  stage)
เด็กวัย 3 ขวบ
การขีดๆเขียนๆเริ่มเป็นรูปร่างขึ้น
เขียนวงกลมได้
ควบคุมมือกับตาให้สัมพันธ์กันมากขึ้น 
     ขั้นที่ 3 ขั้นรู้จักออกแบบ (design stage)
เด็กวัย 4 ขวบ
ขีดๆเขียนๆที่เป็นรูปร่างเข้าด้วยกัน
วาดโครงสร้างหรือเค้าโครงได้
วาดสี่เหลี่ยมได้
     ขั้นที่ 4 ขั้นการวาดแสดงเป็นภาพ (pictorial stage)
เด็กวัย 5 ขวบขึ้นไป
เริ่มแยกแยะวัตถุที่เหมือนกับมาตรฐานของผู้ใหญ่ได้
รับรู้ความเป็นจริง เขียนภาพแสดงถึงภาพคน/ สัตว์ได้
ควบคุมการขีดเขียนได้ดี
วาดสามเหลี่ยมได้
พัฒนาการด้านร่างกาย
กีเซลล์และคอร์บิน สรุปพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย ตามลักษณะพฤติกรรมทางการใช้กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก ดังนี้












ด้านการตัด
      - อายุ 3-4 ปี  ตัดกระดาษเป็นชิ้นส่วนได้
      - อายุ 4-5 ปี  ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้  
      - อายุ 5-6 ปี  ตัดกระดาษตามเส้นโค้งหรือรูปร่างต่างๆได้
การขีดเขียน
      - อายุ 3-4 ปี  เขียนรูปวงกลมตามแบบได้
      - อายุ 4-5 ปี  เขียนรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสตามแบบได้  
      - อายุ 5-6 ปี  เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้
การพับ
      - อายุ 3-4 ปี     พับและรีดสันกระดาษสองทบตามแบบได้
      - อายุ 4-5 ปี     พับและรีดสันกระดาษสามทบตามแบบได้  
      - อายุ 5-6 ปี     พับและรีดสันกระดาษได้คล่องแคล่ว หลายแบบ 
การวาด
      - อายุ 3-4 ปี   วาดภาพคนมีศีรษะ ตา ขา ปาก
      - อายุ 4-5 ปี    วาดภาพคนมีศีรษะ ตา ปาก จมูก ปาก ลำตัว เท้า
      - อายุ 5-6 ปี    วาดภาพคนมีศีรษะ ตา ปาก ลำตัว เท้า จมูก แขน  มือ คอ ผม


อาจารย์ให้ทำงานศิลปะ

วาดภาพต่อเติมจากเส้นที่กำหนดให้ คือวงกลม






มือน้อยสร้างสรรค์




ความรู้ที่ได้รับ
  • ได้รู้จักความหมายของศิลปะมากขึ้นและได้ทำผลงามศิปะของตัวเองจากมือและต่อเติมภาพจากวงกลมเป็นภาพต่างๆ
ประเมินเพื่อนร่วมห้อง
  • เพื่อนให้ความร่วมมือดี
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
  • อาจารย์มีน้ำเสียงที่น่าฟังเหมาะสมกับการเรียนรู้
  • อาจารย์มีความสุขไปกับนักศึกษา